﷯ ﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯﷯ ﷯﷯﷯﷯Easy Install Instructions:﷯﷯﷯1. Copy the Code﷯﷯2. Log in t
o your Blogger account and go to "Manage Layout" from the Blogger Dashboard﷯﷯3. Click on the "Edit HTML" tab.﷯﷯4. Delete the code already in the "Edit Template" box and paste the new BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS ?

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 11




สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์อภิชาติ ปีใหม่นี้ขอให้อาจารย์มีความสุขและประสบความสำเร็จในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการงานขอให้เป็นที่รักของนักศึกษาตลอดไปครับ
สำหรับการเรียนการสอนที่ผ่านมาขอขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์ได้สั่งสอนมา ตลอดระยะเวลาที่ทำการเรียนการสอนอาจารย์ได้มอบความรู้ให้นักศึกษาอย่างดี มีคำแนะนำที่ดีตลอดเวลา และอาจารย์ทุ่มเทการสอนกับนักศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ
ขอขอบคุณสำหรับความรู้ และคำแนะนำดีๆที่ได้มีโอกาสได้มาศึกษากับอาจารย์

ใบงานที่ 10


ประวัติ

ชื่อ นายดอนศักดิ์ นามสกุล คงแก้ว อายุ 30 ปี อายุ ราชการ 5 ปี
สถานที่อยู่ปัจจุบัน 80 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
สถานที่ทำงานในปัจจุบัน โรงเรียนตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑๐ อำเภอบางขัน
จังหวัด นครศรีธรรมราช
คุณวุฒิทางการศึกษา
วุฒิปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต วิชาเอก พลศึกษา
จากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เกียรติประวัติ ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล C-Licence
เจ้าหน้าที่และผู้ตัดสินกีฬา กรีฑา
ผู้ตัดสินกีฬาฟุตบอล

ใบงานที่ 9

ผู้บริหารมืออาชีพ ยังเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่สำหรับวงการศึกษาเพิ่มจะเริ่มเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นก็เมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ซึ่งในหมวด 7 ได้กำหนดไว้ว่า ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายกำหนด
แม้จะยังไม่มีใครให้คำจำกัดความไว้ที่ชัดเจนว่าผู้บริหารมืออาชีพทางการศึกษามีลักษณะอย่างไร แต่ในที่นี้หมายถึงผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและจัดการศึกษาทั้งในระดับสถานศึกษาและในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
โดยภาพรวม คำว่า “มืออาชีพ” หรือ “Professional” มีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. ต้องเป็นคนที่ยังชีพด้วยงานนั้น คือ ต้องมีรายได้หลักจากการงานในวิชาชีพที่ทำ และ
ทุ่มเทเวลาให้กับงานในอาชีพนั้นจริง ๆ
2. ต้องมีการศึกษาและอบรม เพื่อให้มีความรู้ มีศาสตร์ มีหลักการ มีทฤษฎี มีการวิจัยค้น
จนรู้ชัดและรู้จริง และมีการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
3. ต้องนำศาสตร์ไปใช้ในการบริหาร มีการฝึกฝนอย่างจริงจังในอาชีพนั้น ๆ จริง ๆ จน
เกิดความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ที่มากพอ
4. ต้องมีการรับรองมาตรฐานแห่งวิชาชีพ โดยมีการออกใบรับรองหรือใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล ทนายความ นักบัญชี สถาปนิก วิศวกร เป็นต้น ซึ่งในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ และการดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพดังกล่าว จะต้องใช้ผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเท่านั้น
5. ต้องมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ สำหรับยึดถือและปฏิบัติโดยเคร่งครัด
6. มีองค์กรหรือสมาคมวิชาชีพให้การรับรอง โดยการออกใบประกอบวิชาชีพ เพื่อ
ควบคุมกำกับดูแลคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณ รวมทั้งมีมาตรการลงโทษเมื่อมีการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
จะเห็นว่า วิชาชีพที่มีการรับรองทั้งหลายล้วนแล้วแต่ใช้ทฤษฎีหลักการ และองค์ความรู้ และองค์ความรู้ที่ร่ำเรียนมาทั้งสิ้น แต่นักบริหารการศึกษาของเราน้อยรายนักที่จะใช้ศาสตร์ในการบริหารงานส่วนมากมักบริหารโดยไม่ใช้ทฤษฎี ซึ่งอาจจะเป็นเพราะการศึกษาอบรมไม่เข้มข้น ไม่มีการเชื่อมโยงทฤษฎีกับชีวิตการทำงาน และขาดการฝึกฝนอย่างเพียงพอ ทำให้การบริหารกันแบบ “มั่ว แมเนจเมนท์” เป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆ ที่การศึกษาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

ใบงานที่ 8

โปรแกรม SPSS OF WINDOWS

สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ให้ข้อความต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นตัวเลขเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐเท่านั้น ตัวเลขนี้มักจะอยู่ในลักษณะของยอดรวม ซึ่งประมวลมาได้จากข้อมูลเบื้องต้น หรือบางครั้งเป็นตัวเลขที่เป็นผลมาจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบหรือจากการคิดคำนวณ หรือจากการจัดกระทำตามระเบียบวิธีสถิติกับข้อมูลอื่น ๆหลายรายการ

ค่าเฉลี่ย ทางสถิติ หมายถึง ค่ากลางของข้อมูลแต่ละชุด เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ค่ามัธยฐาน ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยที่สุดไปหามากที่สุดหรือจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด
ค่าฐานนิยม คือ ค่าที่ซ้ำกันมากที่สุด
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รากที่สองของค่าเฉลี่ยของกำลังสองของส่วนเบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยเลข
คณิต ใช้วัดการกระจายของข้อมูล เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ s

ประชากร หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้
กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล

มาตราการวัดระดับนามบัญญัติ (Nominal Scale) เป็นระดับที่ใช้จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่ม ๆ โดยใช้ตัวเลข
มาตราการวัดระดับเรียงอันดับ (Ordinal Scales) เป็นระดับที่ใช้สำหรับจัดอันดับที่หรือตำแหน่งของสิ่งที่ต้องการวัด ตัวเลขในมาตราการวัดระดับนี้เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะมาก-น้อย สูง-ต่ำ เก่ง-อ่อน กว่ากัน
มาตราการวัดระดับช่วง (Interval Scale) เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขโดยมีช่วงห่างระหว่างตัวเลขเท่า ๆ กัน สามารถนำตัวเลขมาเปรียบเทียบกันได้ว่าว่ามีปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นกี่เท่าของกันและกัน เพราะมาตราการวัดระดับนี้ไม่มี 0 (ศูนย์) แท้ มีแต่ 0 (ศูนย์) สมมติ
มาตราการวัดระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขให้กับสิ่งที่ต้องการวัด มี 0 (ศูนย์) แท้ เช่น น้ำหนัก ความสูง อายุ เป็นต้น ระดับนี้สามารถนำตัวเลขมาบวก ลบ คูณ หาร หรือหาอัตราส่วนกันได้ คือสามารถบอกได้ว่า ถนนสายหนึ่งยาว 50 กิโลเมตร ยาวเป็น 2 เท่าของถนนอีกสายหนึ่งที่ยาวเพียง 25 กิโลเมตร

ตัวแปร คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต สามารถนำมาศึกษาวัดได้ นับได้ หรือแจกแจงได้ คุณลักษณะและคุณสมบัติเหล่านี้เปลี่ยนแปลงได้ หรือเปลี่ยนค่าได้ อาทิ ความคิดเห็น ความพึงพอใจ ฐานะทางการเงิน ฐานะทางสังคม จำนวนสมาชิกในครอบครัว
ตัวแปรต้น (Independentvariables) หมายถึงตัวแปรที่สามารถมีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตัวแปรอื่นๆได้
ตัวแปรตาม (Dependentvariables) หมายถึง ตัวแปรที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากตัว แปรต้น

สมมติฐาน คือ คำสรุปโดยอาศัยการเดาเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า และคำสรุปนั้นยังไม่คงทีแน่นอนตายตัว มีรากฐานมาจากความเป็นจริง สามารถทดสอบได้โดยการใช้ข้อมูล สมมติฐานอาจเป็นคำพูดที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อทำนายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น
ประเภทของสมมุติฐานการวิจัย
1.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยไม่คำนึงมีการทดสอบทางสถิติ
2.สมมุติฐานที่เน้นการตอบปัญหาโดยการทดสอบทางสถิติ

T – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้
F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 7

สร้าง Blogger
1. เข้าไปทีเว็บไซต์ Blogger.com จะปรากฏหน้าจอ ให้คลิกที่ Create Your Blog Now เพื่อไปสู่ขั้นตอนต่อไป
2. กรอกรายละเอียดต่างให้ครบทุกช่อง ซึ่งประกอบด้วย อีเมล์ รหัสผ่าน ยืนยันรหัสผ่าน และกรอกตัวอักษรที่ปรากฏขึ้นมา พร้อมติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง I accept the Terms of Service เพื่อยอมรับข้อตกลงต่างๆ ตามลำดับ เสร็จแล้ว Continue เพื่อไปขั้นตอนต่อไป
3. กรอกรายละเอียดเล็กน้อยเกี่ยวกับ Blog กรอกชื่อ Blog (URL ของ Blog ที่เราต้องการ) คลิก Continue ไปสู่ขั้นตอนต่อไป
4. เลือกรูปแบบ (Theme-Template) ที่เราต้องการครับ มีให้เลือกเยอะดี เลือกได้ตามใจชอบ
5. เสร็จเรียบร้อยสมดังตั้งใจ คลิกที่ Start Posting เพื่อเริ่มเขียน Blog

การใส่ Glitter ใน Blog
1.คลิกเลือก tab “โค้ด HTML”
2.จากนั้นจึงนำโค้ด embed ของ Glitter ที่เราต้องการใส่ลงไป
ตัวอย่างโค้ด embed จากเว็บไซต์ http://widget.sanook.com
3.เมื่อคลิกกลับมาที่ tab “มุมมองปรกติ” อีกครั้ง ก็จะเห็นกลิตเตอร์น่ารักๆ
4.ตกแต่ง Blog ให้สวยงามแล้วคลิกปุ่ม “บันทึก” ก็เสร็จเรียบร้อย

วิธีแรก ปรับให้หัวข้อเรื่อง หรือ keyword มาก่อน description ตรง title bar
1. ไปที่ Layout -> Edit HTML
2. หา <data:blog.pageTitle/>
3. แทนที่ด้วย code

ทำภาพสไลด์โชว์รูปสวยๆ ใส่บล็อก ด้วยเว็บ slide.com
เมื่อเข้าไปหน้าแรกแล้วจะเห็นปุ่ม browse
ให้คลิกปุ่ม browse เลือกรูปของเรา แล้วก็เลือก skins เลือก themes ,effects ต่างๆเยอะแยะ และสามารถเอาเพลงใส่ได้ด้วย
เมื่อเลือกตกแต่งจนพอใจแล้ว ก็จะได้โค๊ดมา ให้เอาโค๊ดนั้นไปใส่ในบล็อก

วิธีใส่เพลงในบล็อก
ถ้าเราต้องการจะใส่เพลงใน entryปรับหน้า ให้สามารถใช้ Code Html ก่อน
แล้วจึงนำ Code… ต่อไปนี้ ใส่ไปนะคะ
width=”180″ height=”64″ bgcolor=”ffffff” autoplay=”true”
cache=”true” enablejavascript=”true”
controller=”true”>
จากนั้นก็เปลี่ยน Link http://www.xxx/xxxx/xxxx/song.wma

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 6



นายดอนศักดิ์ คงแก้ว 5246701066
การใช้งาน Google
ปัจจุบันการใช้งาน Internet จะปรากฏ Web Site ให้เราสามารถเยี่ยมชมได้มากมายหลายประเภท และได้มีการบรรจุข้อมูลข่าวสารอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในระบบ Internet1 เราอาจใช้อุปกรณ์ Tools ที่เรียกว่า ตัวค้นหา (Search Engire) โดยตัวค้นหา (Search Engire) นี้จะถูกบรรจุอยู่ใน Web Site ต่าง ๆ เช่น www.google.com ,www.yahoo.com, www.lycos.com ในเอกสารนี้จะแนะนำถึงการใช้งานค้นหา (Search Engire) ของ www.google.com ซึ่งจำเป็นตัวค้นหา (Search Engire) ที่นิยมใช้มากสุดและมีฐานข้อมูล (data base) ของ Web Site ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะมีรูปแบบที่มีคำอธิบายการใช้งานเป็นภาษาไทยที่ Web Site www.google.co.th
สืบค้นจาก www.google.co.th

การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไรและหมวดหมู่ในการใช้ Google

ชื่อ ชื่อภาษาอังกฤษ รายละเอียดย่อ
กูเกิล เสิร์ช
Google Search เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา
กูเกิล กรุ๊ปส์
Google Groups บริการเว็บบอร์ด และสร้างเว็บไซต์ของกลุ่ม

กูเกิล ค้นหารูปภาพ
Google Image Search บริการค้นหารูปภาพออนไลน์
กูเกิล แคเลนเดอร์
Google Calendar บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย
จีเมล
Gmail บริการอีเมล

กูเกิล ไซต์ไกสต์
Google Zeitgeist บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช
กูเกิล ด็อกส์
Google Docs บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550
กูเกิล ทรานซเลต
Google Translate บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า
บล็อกเกอร์
Blogger บริการเขียนบล็อก

กูเกิล บล็อกเสิร์ช
Blog Search บริการค้นหาบล็อก
ปีกาซา
Picasa เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา
กูเกิล เพจ
Google Page บริการสร้างเว็บไซต์
กูเกิล แมปส์
Google Maps บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร
ยูทูบ
YouTube บริการแชร์วิดีโอ
กูเกิล วิดีโอ
Google Video บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์
กูเกิล เว็บมาสเตอร์
Google Webmaster ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์
กูเกิล สกอลาร์
Google Scholar บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ
กูเกิล สกาย
Google Sky ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์
กูเกิล สารบบเว็บ
Google Directory ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ

ออร์กัต
Orkut เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547
กูเกิล แอดเซนส์
Google AdSense ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์
กูเกิล แอดเวิรดส์
Google AdWords บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์
กูเกิล แอนะลิติกส์
Google Analytics บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน
กูเกิล แอปส์
Google Apps บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน
ไอกูเกิล
iGoogle ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแกเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้

สืบค้นจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/Google#.E0.B8.AD.E0.B9.89.E0.B8.B2.E0.B8.87.E0.B8.AD.E0.B8.B4.E0.B8.87

Webที่ใช้ค้นหาข้อมูล นอกจาก google แล้วมีอะไรอีก บอกชื่อ Web
ค้นหาข้อมูลจาก Search Engine ยอดนิยม 12 ตัว
และส่งเวบไซต์คุณไปยัง Search Engine ยอดนิยม 12 ตัว
1. Lycos
7. Infoseek

2. Altavista or Advance altavista
8. Magellan

3. Yahoo
9. Advance altavista

4. Yahooligans
10.Hotsearch (Thai Search engine)

5. Excite
11.HotSearch Search, Advanced Query

6. Hotbot
12.Free Top Ten Search Engine Submission!


สืบค้นจาก http://www.thaiwebhunter.com/akesearch.html

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัตบุรุษ



"สัตบุรุษมีความกังวล 3 อย่างคือ เมื่อไม่ได้รับรู้สิ่งที่ดี เขาจะรู้สึกกังวลจนกว่าจะได้รับรู้ เมื่อได้รับรู้แล้วเขาก็เริ่มกังวลว่าจะไม่ได้เรียนรู้ เมื่อได้เรียนรู้แล้ว เขาก็เริ่มกังวลว่าจะไม่สามารถปฏิบัติได้ตามที่ได้เรียนรู้มา"
คัมภีร์หลีจี้ หนังสือจรรยามารยาทของจีนโบราณ

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ใบงานครั้งที่ 4




นายดอนศักดิ์ คงแก้ว 5246701066


การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่
(1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร
(2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ
(3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน
(4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน
(5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัด “ขุมความรู้” ออกมาบันทึกไว้
(6) การจดบันทึก “ขุมความรู้” และ “แก่นความรู้” สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

สืบค้นจาก www.tistr.or.th/KM/index.php?option=com

แหล่งข้อมูลแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ
1. แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะได้จาก การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ และการจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง (บาร์โด้ด : Barcode) เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
2. แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีการรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้ว บางครั้งอาจมีการประมวลผลเป็นสารสนเทศ แล้ว เช่น สถิติการนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้น

สืบค้นจาก http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/tech02/08/2/webit/p5.html

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

สืบค้นจาก http://www.trang.psu.ac.th/learning2teach/index.php?option=com_content&task=view&id=60&Itemid=34

สารสนเทศ คือ ข้อมูล ข่าวสาร ข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ อยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงสัญลักษณ์ หรือกลิ่น ที่ถูกนำมาผ่านกระบวนการประมวลผล ด้วยวิธีการที่ เรียก ว่า กรรมวิธีจัดการข้อมูล (Data Manipulation) และผลที่ได้อาจแสดงผลออกมาในรูปแบบของสื่อประเภทต่าง เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ แผนที่ แผ่นใส ฯลฯ และเป็นผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ตรงและทันกับความต้องการ

สืบค้นจาก www.panyathai.or.th/wiki/index.php

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

อย่ากลัวที่จะเป็นผู้แพ้




"คนเราถ้ามันจะแพ้ ขอให้ถึงเวลามันแพ้ของมันเอง แต่อย่ายอมแพ้ก่อนถึงเวลา เวลาแข่งเราสู้อย่างเต็มที่ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกรรมการเป็นคนตัดสินผลลัพธ์เองว่าเราเป็นผู้แพ้ ไม่ใช่เราสรุปของเราเองว่าเราเป็นผู้แพ้ ถ้าเรายอมแพ้เราก็จะเป็นผู้แพ้ตลอดไป"

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

You'll never walk alone




You'll never walk alone

ยามใดที่คุณได้เดินฝ่าพายุร้าย
จงภูมิใจในสิ่งที่คุณได้ฝ่าฝันจนผ่านพ้นมา
และอย่าได้หวาดกลัวกับความมืดมน
เมื่อพายุนั้นได้ผ่านพ้นไป
จะมีท้องฟ้าทอแสงสว่างสดใส
และมีท่วงทำนองอันแสนหวานที่ขับขานจากนกลาร์ค
ก้าวเดินต่อไปฝ่าสายลมแรง
ก้าวเดินต่อไปแม้สายฝนโหมกระหน่ำ
แม้ว่าความฝันของคุณจะถูกทำร้ายจนแทบสิ้นกำลัง
ก้าวเดินต่อไป ก้าวเดินต่อไป ด้วยความหวังเต็มเปี่ยมภายในใจ
และคุณจะไม่มีวันเดินเดียวดาย
คุณจะจะไม่มีวันเดินเดียวดาย
ก้าวเดินต่อไป ก้าวเดินต่อไป ด้วยความหวังเต็มเปี่ยมภายในใจ
และคุณจะไม่มีวันเดินเดียวดาย
คุณจะจะไม่มีวันเดินเดียวดาย
LFC หลวงแคว็ด

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

How search engine works




How search engine works
ข้อดีของอินเทอร์เน็ตก็คือการมีเว็บเพจต่างต่างนานา ให้เราได้เข้าไปดูได้เป็นร้อยๆ ล้านเว็บเพจ ในแต่ละเว็บเพจก็จะแสดงข้อมูลจำนวนมากมายของหัวข้อต่างๆ แต่ทว่าการที่มีหน้าเว็บเพจจำนวนมากมายนี้ ก็กลับกลายเป็นข้อเสียที่มากมายยิ่งเช่นกัน ข้อเสียที่กกล่าวถึงข้างต้นก็คือมันเป็นการยาก และลึกลับ ซับซ้อนที่จะเข้าถึงหัวข้อเอกสาร หรือสิ่งที่เราสนใจโดยเฉพาะ วิธีการหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลเฉพาะที่ต้องการได้ก็คือการใช้บริการของ Search Engine ต่างๆ นั่นเอง

Search Engine คืออะไร

คือ เว็บไซต์พิเศษบนเว็บ ซึ่ง Search Engine นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยในการค้นหา หรือเข้าถึงข้อมูลซึ่งถูกเก็บอยู่ในไซต์ต่างๆ วิธีการทำงานของ Search Engine ก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับระบบของ Search Engine แต่ละตัว แต่โดยรวมๆ แล้วจะดำเนินการ 3 อย่างหลักๆ ได้แก่
1) ค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต โดยยึดพื้นฐานจากคำที่เราใส่ลงไป
2) แสดงดรรชนีข้อมูลที่ได้จากการค้นหาคำที่พิมพ์ลงไป รวมทั้งแสดงที่อยู่ (URLs หรือ Address) ของหน้าที่ค้นหามา
3) ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูลิงค์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้

การเริ่มต้นของ Search Engine

ในตอนเริ่มแรกนั้น Search Engine ครอบคลุมเพียงแค่หนึ่งแสนเพจของแต่ละเอกสารเท่านั้น และยอมรับเพียงหนึ่งหรือสองพันการค้นหาต่อวัน ในปัจจุบันนี้ Search Engine ได้มีประสิทธิภาพ จะสามารถแสดงดรรชนีข้อมูลที่ได้จากการค้นหาคำที่พิมพ์ลงไปจำนวนหลายร้อยล้านหน้า และตอบสนองการค้นหาได้ถึงสิบล้านความต้องการต่อวันเลยทีเดียว
ในที่นี้กลุ่มของข้าพเจ้าขอนำเสนอการทำงานของ Search Engine ต่างๆ ว่า มีหลักการทำงานอย่างไร และมันทำอย่างไรจึงทำให้เราสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากเว็บต่างๆ ได้
เมื่อเราพูดถึง Search Engine ก็คงจะหมายถึง World Wide Web Search Engine นั่นเอง ก่อนที่เว็บ Search Engine จะเป็นอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ ได้มีการพัฒนาระบบ Search Engine มาเรื่อยๆ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล โปรแกรมที่ใช้ก็เช่น Gopher, Archie แสดงดรรชนีของไฟล์ ซึ่งถูกเก็บอยู่ใน server ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถลดระยะเวลาที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลได้อย่างน่าทึ่งใจ

ในที่นี้เราขอจำกัดขอบเขตของเนื้อหาไว้เพียงแค่การทำงานของ Search Engine และ Search Engine ตัวต่างๆ ที่น่าสนใจเท่านั้น



An Itsy – Bitsy Beginning

ก่อนที่ Search Engine จะสามารถบอกเราได้ว่าไฟล์ หรือข้อมูลที่เราต้องการอยู่ที่ไหน มันต้องทำการค้นหาข้อมูลก่อน และการที่จะค้นหาข้อมูลบนเว็บเพจที่มีเป็นร้อยๆ ล้านเพจนั้น Search Engine จึงต้องใช้ซอฟต์แวร์พิเศษที่มีชื่อว่า ‘Spiders’ เพื่อที่จะสร้างรายการของคำที่ค้นหาได้บนเว็บไซต์ เมื่อซอฟต์แวร์พิเศษนี้กำลังสร้างรายการของมันด้วยกระบวนการทำงานที่เรียกว่า “Web Crawling” (ซอฟต์แวร์พิเศษนี้ยังมีข้อด้อยบางประการคือ การที่ต้องเสียเวลาส่งข้อมูลที่ค้นหาได้จากส่วนขาของแมงมุมไปที่ส่วนตัว ซึ่งทำหน้าที่เหมือนศูนย์กลางของการประมวลผลนั่นเอง)
เพื่อที่จะบำรุงรักษาให้รายการที่สร้างขึ้นมาใช้ได้อย่างมีประโยชน์ ซอฟต์แวร์พิเศษจะเริ่มต้นปฏิบัติการจากไซต์ที่ได้รับความนิยมก่อน การแสดงดรรชนีของข้อมูลที่ค้นหาได้บนเพจ และลิงค์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งค้นหาจากภายใน ด้วยวิธีการนี้ซอฟต์แวร์พิเศษนี้จึงเริ่มต้นและค้นหาได้อย่างรวดเร็ว โดยการแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของเว็บนั่นเอง
กูเกิ้ลเป็นเจ้าแรกที่ศึกษาและพัฒนาระบบ Search Engine ขึ้นมา โดยเริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับ Search Engine แผนภาพข้างต้นอธิบายว่าระบบสร้างขึ้นอย่างไร Sergey Brin และ Lawrence Page ยกตัวอย่างง่ายๆ ของการทำงานที่รวดเร็วของซอฟต์แวร์พิเศษนี้ว่า เริ่มต้นด้วยการสร้างระบบที่จะใช้แมงมุมจำนวนมาก (ดโยปกติแล้ว 3 ตัว ต่อครั้ง) และที่การทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุด จะใช้แมงมุม 4 ตัว แมงมุมแต่ละตัวจะค่อยๆ ครอบคลุม และเข้าถึงข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ ทำให้สามารถครอบคลุมข้อมูลได้มากกว่า 100 หน้า/วินาที และก่อกำเนิดข้อมูลประมาณ 600 กิโลไบต์/วินาที
เพื่อรักษาไว้ซึ่งความรวดเร็วของการทำงาน การสร้างระบบที่ให้เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญกับซอฟต์แวร์พิเศษจึงเริ่มขึ้น ในตอนแรกกูเกิ้ลใช้ server อื่นเป็น URLs แต่ต่อมาเพื่อประสิทธิภาพของการทำงานที่ดีกว่า และรวดเร็วกว่ากูเกิ้ลจึงได้ตั้งโดเมนเป็นของตนเอง เพื่อที่จะใช้เวลาในการค้นหา และเข้าถึงข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้น้อยที่สุดนั่นเอง

สิ่งที่กูเกิ้ลแสดง

1) คำที่ผู้ใช้ต้องการค้นหาในหน้านั้นๆ
2) ที่มา (URLs หรือ Address) ของหน้าที่ทำการค้นหามา.

คำที่ถูกค้นหามักจะเป็น ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง หน้าที่เกี่ยวข้องซึ่งมีความสำคัญ หรือมีความสัมพันธ์กับคำที่เป็นฐานในการค้นหา ระบบของกูเกิ้ลจะสร้างดรรชนีที่สำคัญๆ เกี่ยวกับคำที่ค้นหาบนหน้าเว็บเพจไว้ด้วย

Mega tag
Meta tag จะอนุญาตให้เจ้าของงานเฉพาะเท่านั้นหรือดูไดแค่สารบัญ มันสามารถช่วยได้แม้ในกรณีมีความหมาย 2-3 วลี meta teg ยังสามารถเป็นตัวชี้นำคำที่มีปัญหาไปสุ่คำตอบที่ถูกต้อง แต่ โปรแกรมนี้ก็ยังพบปัญหาอยู่ที่ความเชื่อมั่นในตัวมันมากๆคือเมื่อมันทำงาน spider จะคลุมไวรัส ทำให้มีปัญหาในส่วนนี้
การสร้างดรรชนี
Spider สามารถค้นหางานต่างๆที่คุณต้องการในเวปต่างๆได้ดี และมีข้อมูลต่างๆที่ผู้ใช้ควรรู้อยู่ 2 หัวข้อ 1. ข้อมูลเกี่ยวกับระบบ 2. กรณีที่ ข้อมูลเป็นดรรชนี
ในกรณีแรก การค้นหา สามารถเก็บคำ และ url ที่ที่มันค้นพบและไม่มีทางที่จะบอกคำที่มีความสำคัญที่ต้องการด้วยเป็นอันดับความสำคัญ
การที่จะใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรจะกำหนดตัวเลขในการปารกฎ จะได้ความหมายเป็นอันดับ และเรียงตามความสำคัญ
Building a search
การค้นหาผ่านทางหนังสือที่เกี่ยวข้องกับคำที่ต้องการค้นหาของผู้ใช้และ กี่ยอมรับผ่านทาง search engine โดยคำถามที่ถามอาจจะเป็นคำภามง่ายๆ เช่นคำพยางค์ๆเดียวก็ได้ การที่จะค้นหาคำถามที่มีลักษณะซับซ้อนกันมากจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ของ Boolean operators เพื่อที่จะขัดเกลาคำถามของคุณให้มีช่วงการค้นหาคำตอบที่กว้างขึ้น
Boolean operators โดยทั่วไปที่มักจะรู้จักก็คือ
And- ทุกๆคำจะถูกให้มีส่วนร่วม โดย AND และจะปรากฏลงบนทุกๆหน้าของเอกสาร
Or- อ อย่างน้อยคำหนึ่งคำในคำถามจะถูกใหม่มีส่วนร่วมกับคำว่า or และจะปรากฏลงบนทุกๆหน้าของเอกสาร
not- คำที่ตามด้วยคำว่า not จะไม่ปรากฏลงในหน้าของเอกสาร
Near- เป็นคำๆหนึ่งที่ต้องถูกกำหนดค่าจำนวนของพยางค์
quotation mark- คำหลายคำๆระหว่าง เครื่องหมายคำถาม จะถูกแทนด้วยวลี และวลีนั้นจะต้องพบในเอกสารด้วย
Searching for sport
เครื่องมือในการช่วยค้นหาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต อย่างน้อยได้มีเกมๆหนึ่งได้วิวัฒนาการเรื่องมีนี้ใน google คุณพิมคำลงไปใน เซิทร์เอนจิน ด้วยความหวังที่ว่าคุณได้รับในสิ่งที่คุณกำลังค้นหาอยู่นี่คือการพยายามที่แจ่มแจ้งนี่เป็นงานที่ค่อนข้างยาก คุณจะต้องเลือกคำที่ไม่มีความสัมพันกันหรืออย่างอื่น ผลที่ออกมาคือคุณจะได้รับผลการค้นหาที่มากมายและที่แน่นอนคือมากกว่า1ผลการค้นหา แต่ในทางกลับกันด้วยที่คุณพิมพ์คำที่ไม่มีความหมายเหมือนกันเลย ผลที่คุณจะได้ก้อคือ0ถ้าเกิดคุณประสบความสำเร็จคุณสามารถส่งมันไปที่www.googlewhack.com,ที่ที่ประกาศความสามรถให้คนอื่นได้รับรู้
Future search
โปรแกรมค้นหาคำถูกกำหนดรูปแบบโดย Boolean operators ในลักษณะการค้นหาตัวอักษร โปรแกรมจะค้นหาวลีที่เราต้องการหา มันอาจจะมีปัญหาถ้าคำที่เราต้องการหามีหลายความหมาย เช่น ขัน อาจจะหมยถึง ภาชะตักน้ำ แต่บางครั้งก็อาจจะหมายถึง เสียงร้องของไก่ตอนเช้าๆ ถ้าคุณสนใจเพียงแค่ความหมายที่คุณต้องการเพียงสิ่งเดียว บางทีคุณอาจจะไม่ต้องการความหมายที่เหลือ เพราะฉะนั้น คุณอาจจะพิมพ์ตัวอักษรที่ใช้ในการห้อมูลที่เหมาะสมลงไปเพื่อตัดตรงส่วนที่เราไม่ต้องการ แต่มันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีมากๆถ้าเครื่องมือค้นหา หรือ search engine นั้นสามารถหาคำที่เราต้องการค้นหาได้เลย

โรงเรียนตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑๐



โรงเรียนตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑๐

ตั้งอยู่เลยที่ 176 หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านลำนาว อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

วิสัยทัศน์ ภายในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑๐ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีทักษะในการประกอบอาชีพขั้นพื้นฐาน แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ อนรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

โรงเรียนตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์ ๑๐ แบ่งโครงสร้างการบริหารงานในโรงเรียนเป็น 5 กลุ่มงานได้แก่
1. กลุ่มงานบริหารทั่วไป
2. กลุ่มงานบริหารวิชาการ
3. กลุ่มงานบริหารงบประมาณ
4. กลุ่มงานบริหารงานบุคคล
5. กลุ่มงานบริหารกิจการนักเรียนและชุมชนสัมพันธ์
การบริหารงานยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาล โดยกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายการพัฒนาและยุทธศาสตร์

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อการบริหารงานในโรงเรียนตชด.ช่างกลปทุมวันอนุสรณ์๑๐

โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้บริการการศึกษานักเรียน การดำเนินงานใดๆ โรงเรียน จำเป็นต้องมีกลุ่มบุคคลมาบริหารงาน เพื่อให้การจัดการเป็นไปตามวัตถุประสงค์

การจัดการ หมายถึง กระบวนการกิจกรรมหรือการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในอันที่จะเชื่อมั่นได้ว่า กิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปในแนวทางที่จะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในอันที่จะสร้างและรักษาไว้ซึ่งสภาวะที่จะเอื้ออำนวยต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความพยายามของกุล่มบุคคล (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2540 : 110)

สารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน หมายถึง กลุ่มข้อมูลหรือสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาระงานของโรงเรียนทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานวิชาการ การบริหารบุคคล งานบริหารการเงิน และงานบริหารทั่วไปสารสนเทศจะมีบทบาทสำคัญต่อผู้บริหารโรงเรียนในการจัดการโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพทั้ง 4 งาน เมื่อผู้บริหารโรงเรียนสามารถนำสารสนเทศดังกล่าวมาพิจารณาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆได้ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยในการวางแผน โรงเรียนจำเป็นต้องมีการวางแผนงานด้านต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า จึงต้องอาศัยสารสนเทศเรื่องต่าง ๆ ประกอบในการวางแผน เพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดได้
2. ช่วยในการตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นเรื่องที่ผู้บริหารจะต้องกระทำอยู่ตลอดเวลา สารสนเทศที่มีความพร้อมจะเรียกใช้ได้ตลอดเวลา จะช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารถูกต้องและรวดเร็ว
3. ช่วยในการปรับปรุงหน่วยงาน เช่น โรงเรียนจะทำการขยายห้องเรียนเพิ่ม จำเป็นต้องใช้สารสนเทศเกี่ยวกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด ค่าใช้สอยในการก่อสร้าง สถานที่ที่จะเพิ่มห้องเรียนอยู่ในส่วนใด เป็นต้น
4. ช่วยในการควบคุมปฏิบัติงาน สารสนเทศจะเป็นตัวชี้บอกว่างานนั้นๆ เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือได้มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ สารสนเทศจะช่วยในการพิจารณาวิธีการกำหนดบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งว่ามีความเหมาะสมเพียงใด หรือใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาการปรับขั้นเงินเดือน
5. ช่วยในการประชาสัมพันธ์โรงเรียนให้เป็นที่รู้จักของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น แสดงประมาณนักเรียนที่เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือจำนวนนักเรียนที่ทำคะแนนได้ดีที่สุด เป็นต้น และยังสามารถให้บริการข้อมูลทั้ง 4 ด้านแก่หน่วยงานที่สนใจ
การจัดวางระบบสารสนเทศในโรงเรียนเพื่อให้สามารถนำสารสนเทศมาใช้ในการจัดการโรงเรียนตามขอบเขตของงานที่ต้องรับผิดชอบทั้ง 4 งาน อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก่อนอื่นต้องคำนึงถึงผลผลิตหรือตัวสารสนเทศที่ต้องการเพื่อเป็นแนวทางนำไปสู่การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การกำหนด
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ หมายถึง การรวบรวมคน เครื่องคอมพิวเตอร์ ความคิด และกิจกรรมต่างๆ เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ออกเป็นสารสนเทศที่ต้องใช้ในองค์กรทุกระดับของการจัดการภายในองค์กร
สารสนเทศที่จำเป็นและอยู่ในขอบเขตที่ต้องการ จะช่วยทำให้ลดปริมาณ เวลา และค่าใช้จ่าย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยผ่านการวิเคราะห์ความต้องการ และความจำเป็นในการใช้จะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ากับการลงทุน
ผู้บริหารโรงเรียนเป็นบุคคลที่สำคัญที่มีบทบาทมีหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อการจัดการสารสนเทศ และการนำสารสนเทศมาใช้ในการจัดการโรงเรียน ตามลักษณะงานทั้ง 4 ด้าน ซึ่งจีราภรณ์ รักษาแก้ว (อ้างอิงใน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2540 :120) ได้ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารต่อสารสนเทศไว้ว่า ผู้บริหาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแนวทางการพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการ ความคุ้มค่าของสารสนเทศและความประหยัดในการผลิตหรือจัดการสารสนเทศ...


แนวทางในการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศเพื่อการบริหาร

ผู้บริหารโรงเรียน มีหน้าที่อำนวยการและควบคุม ดูแลการใช้ทรัพยากรที่อยู่ในโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นการประหยัดทรัพยากรด้วยจึงได้จัดแนวทางปฏิบัติในการจัดการระบบสารสนเทศในโรงเรียนดังนี้

ระบบข้อมูล
1. ผู้รับผิดชอบและประสานงานวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลโดยดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1.1 จำแนกรายการประเภทข้อมูลให้ครอบคลุมการดำเนินงานของโรงเรียนทุก
ท่าน ทั้ง ด้านวิชาการ ธุรการ บุคลากร การบริหารงานทั่วไป
1.2 ปรับปรุงแบบเก็บข้อมูลให้กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ง่าย
ต่อการ เก็บรักษา และลดความซ้ำซ้อนของงานโดยไม่จำเป็น สร้างเครื่องมือเก็บให้สอดคล้อง กับลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูล เช่น แบบสำรวจ แบบรายงาน หรือ แบบสอบถาม เป็นต้น
1.3 กำหนดระบบการรวบรวม การเก็บรักษา การทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบันรวมทั้ง
การ นำเสนอและการใช้ข้อมูล
1.4 นำผลที่ได้จาก ข้อ 1.1 - 1.3 ไปชี้แจงตกลงร่วมกันกับ ครูทั้งโรงเรียน เพื่อให้เกิด
ความ เข้าใจและยอมรับร่วมกัน
2. จัดระบบสารสนเทศตามที่ได้ตกลงกันไว้
3. ทดลองใช้ระบบสารสนเทศระยะหนึ่งแล้วปรับปรุงให้เหมาะสมได้ประโยชน์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
4. แต่ละงาน ฝ่าย และผู้บริหารระบุรายการข้อมูลที่ใช้ปฏิบัติงาน และให้บริการตามลำดับความจำเป็นก่อนและหลัง อาจรวบรวมในเวลาที่ต่างกัน แล้วแต่ความสะดวกรวดเร็ว และทันต่อการนำไปใช้ เช่น อาจเก็บข้อมูลเป็นวัน สัปดาห์ เดือน ภาคการศึกษา ปีการศึกษา หรือปีงบประมาณเป็นต้น และให้สอดคล้องกับกำหนดวันจัดเก็บข้อมูลของสำนักการศึกษา
5. ประสานงานกับผู้พัฒนาโปรแกรมให้มีชุดคำสั่งในการสำรองข้อมูลอัตโนมัติ (Back up Data) เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย
6. จัดทำเอกสาร คู่มือ การใช้งานของโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้ศึกษาเพิ่มเติม ได้ตลอดเวลา
7. มีการตรวจสอบข้อมูล คือ มีความเป็นปัจจุบัน ข้อมูลที่เกิดทันต่อการใช้งาน มีความเที่ยงตรง ตามเนื้อหาของสาระสนเทศที่ต้องการ


บุคลากร
1. ให้ความรู้และเหตุผลที่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศของโรงเรียนแก่บุคลากรในโรงเรียน
2. ให้การฝึกอบรมและพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ เรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อกระจายงาน และมีข้อมูลทันต่อการใช้งาน
3. ผู้รับผิดชอบและประสานงานปรับปรุงระบบสารสนเทศจัดให้อยู่ในรูปคณะกรรมการโดยคัดเลือกจากบุคคลที่เหมาะสม และมีจำนวนมากพอกับปริมาณงานที่ต้องรับผิดชอบ

ด้านทรัพยากรของระบบ
1. จัดให้มีศูนย์สารสนเทศระดับโรงเรียน มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และการสื่อสารข้อมูลสารสนเทศแบบเชื่อมตรงกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก โดยใช้ระดับ Intranet
2. ประสานงานกับผู้ดูแล Website ให้ปรับปรุงการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้ผู้กรอกข้อมูลสามารถกรอกข้อมูลแบบ Offline ได้
3. จัดหาอุปกรณ์เสริมให้ครบถ้วนเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และจัดหาวัสดุให้เพียงพอต่อการใช้งาน เช่น แผ่นซีดี แผ่นดิสก์ และอื่นๆ

งบประมาณ
โรงเรียนต้องจัดสรรงบประมาณสำหรับขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรมให้มีสมรรถนะการทำงานที่สูงขึ้น โดยขอจัดสรรงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ของบแปรญัตติจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีแผนการใช้งบประมาณที่รองรับการขยายระบบสารสนเทศและพัฒนานวัตกรรม

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปองค์ความรู้ สัปดาห์ที่ 3 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2552

วิชา การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
สรุป ความรู้ที่ได้รับในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2552

การจัดหาความรู้
- แนวคิดและกลยุทธ์ในการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้
- บทบาทใหม่ของการบริหาร ทุนมนุษย์
- การจัดการความรู้: แนวคิด
ข้อมูล ความเฉลียวฉลาด ความรู้ เชาว์ปัญญา
- ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสารสนเทศ ความรู้และปัญญา
- การบริหารทรัพยากรบุคคล ในฐานะทรัพย์สินที่จับต้องได้
- ความรู้อยู่ที่ไหนในหน่วยงาน
- ความสำคัญของทรัพยากรบุคคล (ทุนมนุษย์)
- การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
รูปแบบของความรู้ รูปแบบการจัดการความรู้ โมเดลปลาทู การบวนการจัดการความรู้ วิเคราะห์สังเคราะห์ความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เครือข่ายความรู้ ประโยชน์จของ CoP วงจรการเรียนรู้ของสมาชิก CoP
คลังความรู้
- ข้อควรระวังในการทำ KS
- กระบวนการจัดการความรู้
การเชื่อมโยง KM สู่วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็น ยุทธศาสตร์
- องค์การที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์
- การบริหารจัดการความรู้คืออะไร
- องค์ประกอบสำคัญ ของการบริหารจัดการความรู้
- ประเภทของความรู้


สรุป : นายดอนศักดิ์ คงแก้ว 5246701066